วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25/08/58
เรียนครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge

พัฒนาการทางสติปัญญา คือ ความเจริญงอกงามทางความสามารถ ทางภาษาและการคิดของแต่ละบุคคล ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจาก การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

  • เริ่มตั้งแต่เกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์ จะทำให้เด็กรู้จักตนเองเพราะตอนแรกเกิดเด็กจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
  • การปฏิสัมพันธ์กับคนและสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ ประกอบไปด้วย2กระบวนการ ดังนี้

  1. กระบวนการดูดซึม assimilation
  2. กระบวนการปรับโครงสร้างaccommodation(เพื่อความอยู่รอด)
- การปรับเข้าสู่ภาวะสมดุล
- การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
- การปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
- การปรับแนวคิดและพฤติกรรม จะทำให้เกิดภาวะสมดุล
- สติปัญญา เกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่ภาวะสมดุล


Technical Education
  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • การใช้คำถาม
  • การใช้ power point


Skill
  • การคิดวิเคราะห์
  • การตอบคำถาม

Adoption

  จะนำแนวทางที่อาจารย์สอนในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ไปปรับใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กและการปรับตัวต่างๆที่เราจะเสริมและพัฒนา


Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัยตั้งใจเวลาที่อาจารย์         สอนหรืออธิบายจดในเรื่องสำคัญลงสมุดบันทึก

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และเมื่ออาจารย์ถามอะไร
ก็จะช่วยๆกันตอบ 

Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอ
และคอยกระตุ้นให้             นักศึกษาฝึกการคิดโดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง



วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความ Science for Kids




          สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Teaching Children about Environment Conservation) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของคนเรา เพราะการดำรงชีวิตของคนต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปถึงอนาคต แต่เมื่อคน เราใช้สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประกอบกับความเป็นอยู่ของคนเรามีเครื่องอำนวยความสะดวก แต่กลับให้โทษต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัญหาที่คนในสังคมได้มาศึกษาหาทางใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างเสริมประโยชน์แก่มนุษย์ตลอดไปเรียกว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการให้ความรู้ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และเน้นการปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก

ความสำคัญในการสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้ำ และอากาศให้มีคุณภาพเพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ตลอดไป
  •  สิ่งแวดล้อมอยู่รอบๆตัวคนเรา มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตคือ คน พืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่น ดิน หิน ทราย แร่ธาตุ ฯลฯคนเราต้องใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต ใช้กินเป็นอาหาร ใช้เป็นยารักษาโรค ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
  • สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นแล้วมีจำนวนจำกัด หากคนเราไม่รู้จักการอนุรักษ์ สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดไป คนรุ่นต่อไปก็จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก
ประโยชน์ของการสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • เด็กจะมีความรู้เรื่องการรักษาทรัพยากรที่จำเป็นต่อชีวิต
  • เด็กจะเกิดความสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • เด็กจะรู้จักใช้สิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี
  • การอบรมสั่งสอนเด็กให้รู้จักใช้สิ่งแวดล้อม จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต คือ คน พืช สัตว์ และได้ใช้สิ่งเหล่านี้สืบต่อไป
สรุป
  • การเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กจะเกิดขึ้นได้ผลอย่างยั่งยืน เพราะสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเป็นธรรม ชาติให้เด็กได้สัมผัส ให้เด็กได้เห็นได้กลิ่นได้รู้จักสิ่งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น อากาศ ลำธาร เป็นต้น และสภาพภายนอกห้องเรียนจะมีระบบนิเวศที่เด็กพบเห็นได้เสมอ เช่น มีบริเวณของไม้พุ่มหลากหลายชนิดที่นกสามารถเข้าไปนอนและทำรังได้ ทำรั้วต้นไม้ที่ให้ร่มเงาให้เด็กเข้าไปนั่งเล่น ให้เห็นว่าต้นไม้เป็นที่อาศัยของสัตว์และพืช และต้นไม้ให้วัสดุที่เด็กนำมาเล่นได้ เช่น ลูกยาง ฝักถั่ว กิ่งไม้ ใบไม้ เป็นต้น
  • จัดประสบการณ์ตรงให้แก่เด็ก เช่น การใช้น้ำอย่างประหยัด การดูแลต้นไม้ การกำจัดขยะ การลดขยะ การใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ การรักษาอากาศให้สะอาด การเลือกกินอาหารจากพืชเพื่อให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ เป็นต้น
  • วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นสิ่งแวดล้อมที่ควรแก่การอนุรักษ์ เนื่องจากวัฒนธรรมประเพณีเกิดจากสังคมได้ตระ หนักถึงคุณค่าของการใช้ธรรมชาติเป็นปัจจัยของชีวิต


ครั้งที่1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 19/08/58
เรียนครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223

สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา สิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และพูดเรื่องของการเก็บคะแนนของรายวิชานี้ พูดเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีความสำคัญสำหรับเด้กปฐมวัยอย่างไร นั้นเอง

Knowledge
  Learning Outcomes

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม
  2. มีความรู้
  3. มีทักษะทางปัญญา
  4. มีทักษะความสามารถระหว่างบุคคล
  5. มีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
  6. มีทักษะในการจัดการเรียนรู้

ารจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น 3 คำที่สำคัญๆ คือ

1.การจัดประสบการณ์

  • หลักการจัดประสบการณ์
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์
  • กระบวนการจัดประสบการณ์
  • ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
  • สื่อและสภาพแวดล้อมการจัดประสบการณ์
  • การประเมินผล
2.วิทยาศาตร์
 - สาระสำคัญ

  • เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  • เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
  • ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  • สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
 - ทักษะทางวิทยาศาสตร์

  • การสังเกต
  • การจำแนกประเภท
  • การลงความเห็นจากข้อมูล
  • การหาความสัมพันธ์
  • การคำนวน
3.เด็กปฐมวัย

    พัฒนาการ คือ ความสามารถที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
    การที่เราจะจัดประสบการณ์ให้กับเด็กๆได้พัฒนาในทุกๆด้านนั้น เราจะต้องรู้พัฒนาการของเด็กแต่ละคนเป็นอย่างดี
    พัฒนาการทั้ง4ด้าน คือ 

  1. ด้านร่างกาย
  2. อารมณ์ จิตใจ
  3. สังคม
  4. สติปัญญา
วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
 - การเรียนรู้ คือ การที่เด็กมีพฤติกรรมที่เปลียนไปจากเดิม
 - วิธีการเรียนรู้
    เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ได้แก่

  • ตา  =  ดู
  • หู   =  ฟัง
  • จมูก =  ดมกลิ่น
  • ลิ้น  =  ชิมรส
  • กาย =  สัมผัส
Technical Education

  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • การใช้คำถาม
Skill

  • การคิดวิเคราะห์
  • การตอบคำถาม

Adoption
  จะนำแนวทางที่อาจารย์ให้คำแนนนำในวันนี้นั้นไปปรับใช้ในเรื่องของการเรียนการสอนในอนาคต 
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชาที่เรียน

Evaluation
Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัยตั้งใจเวลาที่อาจารย์         สอนหรืออธิบายจดในเรื่องสำคัญลงสมุดบันทึก

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และเมื่ออาจารย์ถามอะไร
ก็จะช่วยๆกันตอบ 

Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอ
และคอยกระตุ้นให้             นักศึกษาฝึกการคิดโดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง