วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์

มหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

( National Science and Technology Fair )

สถานที่ : ชาเลนเจอร์อิมแพค เมืองทองธานี



































ครั้งที่่15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 24/11/58
เรียนครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223





Knowledge


  • เพื่อนนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู

เลขที่ 15 : นำเสนองานวิจัย

ชื่องานวิจัย : ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง

        วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย : สำรวย สุขชัย

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ





เลขที่ 24 : นำเสนองานวิจัย

ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการ

           ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์

มหาวิทยาลัย : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2551





เลขที่ 25นำเสนอโทรทัศน์ครู

เรื่อง : สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ

ตอนที่ 4นวัตกรรมมาทาลโปรแกรม

โดย : คุณครูชลธิชา  หงษ์ษา


โรงเรียน : โรงเรียนสยามสามไตร




Technical Education
  • การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • การสรุป และยกตัวอย่าง

Skill
  • การคิดวิเคราะห์
  • ความคิดรวบยอด
  • การตอบคำถาม
  • การคิดวิเคราะห์
  • การสังเกต

Adoption

     นำความรู้ที่ได้ในการฟังเพื่อนรายงานเกี่ยวกับวิจัย และโทรทัศน์ครู ก็จะมีแผนมีขั้นตอนต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เราสามารถนำไปใช้ได้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของวิทยาศาสตร์


Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรม และฟังอาจารย์              อธิบาย    
Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และสนใจร่วมกิจกรรมที่ทำ 
Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและยกตัวอย่าง           ให้เห็นอย่างชัดเจน

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Thai Teachers TV

สรุปโทรทัศน์ครู






โรงเรียนบ้านเหมืองแร่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์สอนเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักกระบวนการให้นักเรียนได้จดจำและสังเกต แยกแยะ ของเล่นของใช้ที่มีประโยชน์ ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายและการสัมผัส ทำให้นักเรียนเข้าใจและจดจำนำไปใช้ที่บ้านได้ การจัดประสบการณ์โดยการนำวัสดุอุปกรณ์ของเล่นของใช้ที่เป็นของจริงมาเป็นสื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณค่าที่สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริง เด็กได้สัมผัสจริง ได้เห็นของจริงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกตรู้จักแยกแยะ เปรียบเทียบ รวมทั้งทำให้เด็กได้จดจำสิ่งต่างๆ และนำไปใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งทำให้เด็กมีความสุขและสนุกสนานกับการเรียน ผสมผสานกับการเล่น และยังสามารถเชื่อต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี

การประยุกต์ใช้การจัดกิจกรรม ก็คือ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงจากสิ่งประจำวันของคุณครูในเรื่องการรู้จักแยกแยะจำแนกของเล่น ของใช้ จากการเล่นและหลังการเล่นของเด็กๆ ควรต้องจัดเก็บให้เป็นที่และเป็นหมวดหมู่ถูกต้องตามประเภท ซึ่งจากตรงนี้เด็กก็ได้รับประสบการณ์ตรง  การเปรียบเทียบรวมทั้งการฝึกให้เด็กเกิดการสังเกตและการจดจำซึ่งกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กควรเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และฝังใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ ด้วยการเล่นกิจกรรมในชีวิตประจำวันมาสอนเข้ากับบทเรียนทำให้เด็กเห็นภาพแล้วจะจำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเกิดจากประสบการณ์เดิมของเด็กเอง   ครูผู้ช่วยเสริมและช่วย ให้เด็กรู้จักการจำแนกเปรียบเทียบสมุดจัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆได้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล

ทั้งนี้เพราะเด็กต้องการประสบการณ์ในทุกทักษะของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุกด้าน และครูก็ควรจัดประสบการณ์ หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆด้วย เพราะกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในวิทยาศาสตร์ พัฒนาเป็นกระบวนการการเรียนรู้จักความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น


Research

สรุปงานวิจัย





ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการ            ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์
เสนอ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2551

จุดมุ่งหมายของงานวิจัย

    จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อการศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 

1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ    เด็กนักวิจัย 

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนัก    วิจัยก่อนทดลองและหลังทดลอง

ความสำคัญของงานวิจัย
    
    ความสำคัญการศึกษาครั้งนี้อาจจะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยรวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขตของการวิจัย

     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
          
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 156 คน

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยาอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีจำกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนซึ่งได้มาโดยสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากจำนวน 4 ห้องเรียนและจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับฉลากได้จำนวน 20 คนเป็นกลุ่มทดลอง

     ตัวแปรที่ศึกษา
       
        1 ตัวแปรจัดกระทำได้แก่การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        2 ตัวแปรตามได้แก่ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้านดังนี้ 
           2.1 ทักษะการสังเกต 
           2.2 ทักษะการจำแนกประเภท 
           2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล 
           2.4 ทักษะการลงความเห็น 
                               2.5 ทักษะการพยากรณ์


     ระยะเวลาในการทดลอง
         
         ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองโดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 
รวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง วันละ 30-45 นาที

นิยามศัพท์เฉพาะ
         
     1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา


     2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นกระบวนการผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติโดยใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยแยกเป็น 5 ด้านดังนี้
2.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ตาหูจมูกลิ้นและผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุโดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
2.2 ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวกหรือเรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ความเหมือนความแตกต่างและความสัมพันธ์
2.3 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตทดลองมาแต่ความหมายและสื่อความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ
2.4 ทักษะการลงความเห็น หมายถึง การอธิบายหรือตีความหมายของสิ่งที่สังเกตได้
2.5 ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซ้ำเรื่องกับการสังเกต

    3. การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลงมือค้นคว้าแสวงหาความรู้สึกจะได้สร้างความรู้พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ หมายถึง ผู้ศึกษาความต้องการของผู้เรียนโดยการสนทนาซักถามความอยากรู้อยากเห็นของเด็กรวมถึงการเล่าประสบการณ์เดินเกี่ยวกับเพื่อนที่ต้องการศึกษาเพื่อเด็กได้ฝึกฝนทักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นจากนั้นครูตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้วางแผนกิจกรรมสนับสนุนสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้และกิจกรรมต้องสัมพันธ์กันกับเพื่อนที่เด็กต้องการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในทุกด้าน

ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ หมายถึง กำหนดแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กครูพาเด็กไปศึกษาที่แหล่งเรียนรู้มีประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริงในระหว่างดำเนินกิจกรรมศึกษาศึกษาที่แหล่งเรียนรู้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ด้านได้แก่ทักษะการสังเกตทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายทักษะการลงความเห็นและทักษะการพยากรณ์ระหว่างทำกิจกรรมครูจะกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจที่จะสังเกตสิ่งต่างๆรวมถึงการตั้งคำถามให้เด็กได้ลองคิดหาคำตอบจากนั้นให้เด็กเลือกหัวข้อที่จะศึกษาจากแหล่งเรียนรู้โดยครูกระตุ้นให้เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจของเด็กจากนั้นครูทำแผนที่ความคิดจากคำตอบของเด็กทุกคนเพื่อเชื่อมโยงความคิดของเด็กทุกคนเมื่อเห็นภาพรวมแล้วกูจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรื่อง ตามความสนใจหลังจากนั้นจึงให้เด็กสนุกและจัดทำผลงานความรู้และให้เด็กสืบค้นและแสวงหาความรู้ใหม่

ขั้นที่ 3 ขั้นทบทวนความรู้ หมายถึง ขั้นที่ครูประเมินเด็กจากสังเกตพฤติกรรมพูดคุยการทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็กเพื่อทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก

สมมติฐานในการวิจัย
   
      เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยจะมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากตอนการทำกิจกรรม

วิธีดำเนินการวิจัย
     
      วิธีดำเนินการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 
1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
      
     ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    
สรุปผลการวิจัย
    
     1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
     2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ

     ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบเด็กผู้ชายในครั้งนี้จึงส่งผลต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีเพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ทำให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยผู้มีบทบาทที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นให้เด็กเกิดข้อสงสัยสังเกตคิดหาคำตอบจากการสำรวจค้นหาความรู้ด้วยตนเองในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยนี้เป็นการที่เด็กและครูเรียนรู้ไปพร้อมพร้อมกับเด็กเด็กเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายยิ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้นคุณมีเนื้อที่ในการจะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และตั้งคำถามให้เด็กคิดหาคำตอบเด็กจะได้เข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

ภาคผนวก












วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่่14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 17/11/58
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223



Knowledge

  • การทำcooking ขนมบัวลอย บลูเบอรรี่ชีสพาย และไอศครีม

การทำขนมบัวลอย : แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ได้แก่

ฐานที่1 ผสมแป้ง และสีผสมอาหารเข้าด้วยกัน





ฐานที่2 ปั้นแป้งขนมบัวลอยเป็นลูกกลมๆ เล็ก พอประมาณ



ฐานที่3 นำแป้งขนมบัวลอยที่ปั้นเสร็จแล้ว ไปใส่ในหม้อที่มีน้ำเดือด และเมื่อสุกก็ตักใส่ถ้วยและ       ราดด้วยน้ำกะทิ






การทำบลูเบอรี่ชีสพาย : แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ได้แก่

ฐานที่1 นำโอริโอ้มาบดให้ละเอียด และเอาเนยที่ละลายแล้วมาคลุกกับโอริโอ้ที่ละเอียดแล้ว




ฐานที่2 นำชีสมาปรุงรสกับมะนาวและโยเกิร์ต ผสมให้เข้ากันด้วยการ ตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน




ฐานที่3 นำบลูเบอรี่มาตักใส่บนชีสและตกแต่งให้สวยงาม






การทำไอศครีม : จะไม่แบ่งออกเป็นฐาน แต่จะทำไปพร้อมๆกัน ตามขั้นตอน
             โดยทำกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์ และวัตถุดิบในการทำไอศครีม มีดังนี้


  1. นมสด
  2. นมข้นหวาน
  3. เกลือ
  4. วิปปิ้งครีม
  5. ท็อปปิ้ง
  6. น้ำแข็ง
  7. ถุงซิปล็อกขนาดเล็กและใหญ่
  8. ตะกร้อตีไข่
  9. ถ้วยัสำหรับผสม

ขั้นตอนในการทำไอศครีม

ขั้นที่1 แนะนำอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการทำไอศครีม รวมทั้งบอกวิธีการทำไอศครีมด้วย





ขั้นที่2 เริ่มแจกอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่ม และเริ่มเท นมสดลงในถ้วยและตามด้วยนมข้นหวาน
      แล้วตีให้เข้ากัน






ขั้นที่3 ใส่เกลือปลายช้อน




ขั้นที่4 ใส่วิปปิ้งครีมแล้วคนให้เข้ากัน







ขั้นที่5 เทส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงซิปขนาดเล็ก






ขั้นที่6 ตักน้ำแข็งใสในถุงซิปขนาดใหญ่ และโรยเกลือในน้ำแข้ง เขย่าให้เกลืออยู่ทั่วๆ น้ำแข็ง





ขั้นที่7 นำถุงซิปเล็กที่เป็นส่วนผสมของไอศครีม มาใส่ในถุงซิปใหญ่ที่มีน้ำแข็ง
      จากนั้นก็ปิดปากถุงให้สนิท



ขั้นที่8 เขย่าถุงซิปล็อกจนกว่าไอศครีมจะแข็งตัว






ขั้นที่9 เมื่อเราได้ไอศครีมที่แข็งตัวแล้ว เราก็นำมาตักใส่ถ้วย



ขั้นที่10 นำมาตกแต่งด้วยท็อปปิ้ง และวิปปิ้งครีม ตามใจชอบ








Technical Education
  • การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • การสรุป และยกตัวอย่าง

Skill
  • การคิดวิเคราะห์
  • ความคิดรวบยอด
  • การตอบคำถาม
  • การคิดวิเคราะห์
  • การสังเกต

Adoption

     นำความรู้ที่ได้ในเรื่องของการทำcookingอย่างเป็นขั้นตอนให้เด็กเห็นเป็นขั้นอย่างชัดเจน และนำข้อสรุปของการเขียนแผนไปใช้ในการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กๆได้รับทั้งความรู้และทักษะที่ควรได้รับและอีกมากมาย


Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรม และฟังอาจารย์อธิบาย    
Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และสนใจร่วมกิจกรรมที่ทำ 
Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและยกตัวอย่างให้เห็น           อย่างชัดเจน