วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Research

สรุปงานวิจัย





ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการ            ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์
เสนอ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2551

จุดมุ่งหมายของงานวิจัย

    จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อการศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 

1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ    เด็กนักวิจัย 

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนัก    วิจัยก่อนทดลองและหลังทดลอง

ความสำคัญของงานวิจัย
    
    ความสำคัญการศึกษาครั้งนี้อาจจะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยรวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขตของการวิจัย

     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
          
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 156 คน

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยาอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีจำกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนซึ่งได้มาโดยสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากจำนวน 4 ห้องเรียนและจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับฉลากได้จำนวน 20 คนเป็นกลุ่มทดลอง

     ตัวแปรที่ศึกษา
       
        1 ตัวแปรจัดกระทำได้แก่การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        2 ตัวแปรตามได้แก่ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้านดังนี้ 
           2.1 ทักษะการสังเกต 
           2.2 ทักษะการจำแนกประเภท 
           2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล 
           2.4 ทักษะการลงความเห็น 
                               2.5 ทักษะการพยากรณ์


     ระยะเวลาในการทดลอง
         
         ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองโดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 
รวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง วันละ 30-45 นาที

นิยามศัพท์เฉพาะ
         
     1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 56 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา


     2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นกระบวนการผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติโดยใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยแยกเป็น 5 ด้านดังนี้
2.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ตาหูจมูกลิ้นและผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุโดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
2.2 ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวกหรือเรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ความเหมือนความแตกต่างและความสัมพันธ์
2.3 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตทดลองมาแต่ความหมายและสื่อความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ
2.4 ทักษะการลงความเห็น หมายถึง การอธิบายหรือตีความหมายของสิ่งที่สังเกตได้
2.5 ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซ้ำเรื่องกับการสังเกต

    3. การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลงมือค้นคว้าแสวงหาความรู้สึกจะได้สร้างความรู้พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ หมายถึง ผู้ศึกษาความต้องการของผู้เรียนโดยการสนทนาซักถามความอยากรู้อยากเห็นของเด็กรวมถึงการเล่าประสบการณ์เดินเกี่ยวกับเพื่อนที่ต้องการศึกษาเพื่อเด็กได้ฝึกฝนทักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นจากนั้นครูตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้วางแผนกิจกรรมสนับสนุนสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้และกิจกรรมต้องสัมพันธ์กันกับเพื่อนที่เด็กต้องการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในทุกด้าน

ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ หมายถึง กำหนดแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กครูพาเด็กไปศึกษาที่แหล่งเรียนรู้มีประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริงในระหว่างดำเนินกิจกรรมศึกษาศึกษาที่แหล่งเรียนรู้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ด้านได้แก่ทักษะการสังเกตทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายทักษะการลงความเห็นและทักษะการพยากรณ์ระหว่างทำกิจกรรมครูจะกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจที่จะสังเกตสิ่งต่างๆรวมถึงการตั้งคำถามให้เด็กได้ลองคิดหาคำตอบจากนั้นให้เด็กเลือกหัวข้อที่จะศึกษาจากแหล่งเรียนรู้โดยครูกระตุ้นให้เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจของเด็กจากนั้นครูทำแผนที่ความคิดจากคำตอบของเด็กทุกคนเพื่อเชื่อมโยงความคิดของเด็กทุกคนเมื่อเห็นภาพรวมแล้วกูจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรื่อง ตามความสนใจหลังจากนั้นจึงให้เด็กสนุกและจัดทำผลงานความรู้และให้เด็กสืบค้นและแสวงหาความรู้ใหม่

ขั้นที่ 3 ขั้นทบทวนความรู้ หมายถึง ขั้นที่ครูประเมินเด็กจากสังเกตพฤติกรรมพูดคุยการทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็กเพื่อทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก

สมมติฐานในการวิจัย
   
      เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยจะมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากตอนการทำกิจกรรม

วิธีดำเนินการวิจัย
     
      วิธีดำเนินการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 
1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
      
     ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    
สรุปผลการวิจัย
    
     1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
     2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ

     ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบเด็กผู้ชายในครั้งนี้จึงส่งผลต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีเพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ทำให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยผู้มีบทบาทที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นให้เด็กเกิดข้อสงสัยสังเกตคิดหาคำตอบจากการสำรวจค้นหาความรู้ด้วยตนเองในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยนี้เป็นการที่เด็กและครูเรียนรู้ไปพร้อมพร้อมกับเด็กเด็กเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายยิ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้นคุณมีเนื้อที่ในการจะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และตั้งคำถามให้เด็กคิดหาคำตอบเด็กจะได้เข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

ภาคผนวก












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น