บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 22/09/58
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 22/09/58
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223
Knowledge
- กิจกรรมการเสนองานคู่
กลุ่มของพวกเราได้งานคู่ เสนอ เรื่องพืช
ขอบข่ายการเรียนรู้เรื่องพืช
ทักษะการจำแนกประเภท
การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง
ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities)
ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม
(Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน
นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า
หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ
ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น
แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้
เป็นต้น
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท
การแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง
สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1.
แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2.
เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี
และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์
1.
เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น
เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด
หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช
(อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม
1.
จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด
ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2.
หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด
ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ
และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร
หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3.
ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก
โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยววับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท
โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร
หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“
นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น
2 กลุ่มได้ไหม”
ข้อเสนอแนะ
1.
กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
2.
เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย
ๆ
กิจกรรม
Technical Education
- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การใช้คำถาม
Skill
- การคิดวิเคราะห์
- การตอบคำถาม
- การนำเสนอผลงาน
- ความคิดรวบยอด
Adoption
นำการสอนที่เพื่อนๆ นำเสนอไปใช้ในการเรียนการสอนในเรื่องของวิทยาศาสตร์หน่วยต่างๆ ให้เด็กเห็นภาพและเกิดความเข้าใจไปด้วย
Evaluation
Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองานเพื่อให้เพื่อนได้รับความรู้ และ นำไปใช้
Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังที่พวกเรานำเสนอ และช่วยกันตอบคำถาม
Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้ นักศึกษาฝึกการคิดโดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น