วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 06/10/58
เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223

Knowledge

  • นำเสนองานวิจัย


     เลขที่ 4 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 


  • นำเสนอของวิทยาศาสตร์
ของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่อง "แสง"


ชื่อของเล่นคือ "ลูกข่างแผ่นซีดี"



วัสดุอุปกรณ์




  1. แผ่นซีดี
  2. ลูกปิงปอง
  3. ฝาขวดน้ำ
  4. กาว



วิธีทำ

 1. นำแผ่นซีดี ด้านสีเงิน เงาๆ มาติดกาวตรงกลางและนำฝาขวดมาแปะไว้ตรงกลางที่ทากาว และรอให้กาวแห้ง


2.หลังจากนั้นก็พลิกแผ่นซีดี อีกข้างหนึ่ง และนำลูกปิงปองมาติดกาวตรงกลางลูกและนำไปแปะติดกับตรงกลางแผ่นซีดี และรอให้กาวแห้ง


3. เราก็จะได้ลูกข่างแผ่นซีดี จากนั้นเราก็นำลูกข่างแผ่นซีดีมาหมุนบนพื้น




วิธีเล่น/หลักการวิทยาศาสตร์
            นำลูกข่างแผ่นซีดี มาหมุนบนพื้นที่เรียบ การเล่นลูกข่างแผ่นซีดีจะสอนทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง " การเกิดแสงและการสะท้อนของแสง " ซึ่งแสงที่เกิดขึ้น มาจากแสงที่มากระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) อาจจะมีทั้งเป็นแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากไฟฉาย แสงจากโทรศัพท์ แสงเทียน เป็นต้น เมื่อแสงมากระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) ก็จะทำให้แสงที่สะท้อนจากแผ่นซีดีเกิดเป็นแสงสีรุ้ง


สรุป

   การที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดีก็คือ การที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 การทำของเล่นจึงทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย และยังสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กอีกกด้วย และถ้าของเล่นที่ทำได้ง่ายๆ เด็กๆก็ยังได้ทำด้วยตัวของเขาเอง โดยที่ครูเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และร่วมทำไปกับเด็กด้วย 





Technical Education
  • สอนการนำเสนองาน
  • การใช้คำถาม
  • นำภาพโดยรมมาสรุป

Skill
  • การคิดวิเคราะห์
  • การตอบคำถาม
  • การนำเสนอผลงาน
  • ความคิดรวบยอด

Adoption


       นำความรู้เกี่ยวกับของเล่นที่สอนเรื่องวิทยาศาตร์ไปสอน ให้เด็กได้ฝึกทำของเล่นโดยการให้เด็กได้มีส่วนร่วมและการได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กๆก็จะได้พบวิธีการเรียนรู้ของตนเองด้วย


Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองานเพื่อให้เพื่อนได้รับความรู้ และ        นำไปใช้ได้

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังที่พวกเรานำเสนอ และช่วยกันตอบคำถาม

Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอ
และคอยกระตุ้นให้             นักศึกษาฝึกการคิดโดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง และอาจารย์           ก็ยังเสริมความรู้ในเรื่องต่างๆให้ด้วย

1 ความคิดเห็น: