วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่่10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20/10/58
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13:30 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 223



Knowledge

  • นำเสนองานวิจัย
เลขที่ 11 เรื่อง ทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด


  • นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น
  1. ของเล่นที่เด็กสามารถทำได้เอง : เรือน้อยลอยไป
  2. ของเล่นที่อยู่ในมุุมประสบการณ์ : จับคู่เสียง
  3. ของเล่นที่เป็นการทดลอง : จรวดลูกโป่ง



  1. ของเล่นที่เด็กสามารถทำได้เอง : เรือน้อยลอยไป



อุปกรณ์



       1. ฟองน้ำ    
       2. ไม้ไอติม
      
3. สก๊อตเทป
      
4. คัตเตอร์
      
5. กรรไกร
      
6. กระดาษสี

วิธีการทำ

 1) นำฟองน้ำ มาตัดให้เป็นรูปบ้าน


  



   

2) เจาะรูตรงกลาง ให้พอดี เสียบไม้ไอติมได้
      










3) นำสก็อตเทปและกระดาษสีมา ติดไม้ไอติม ทำเป็นใบเรือ







4) จากนั้นนำไปเรือที่ทำเสร็จแล้ว ไปติดกับฟองน้ำ












ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับ
            
     การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้เรียกว่า แรงลอยตัวหรือแรงพยุง ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลงและแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้นวัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
    
      ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี




2.ของเล่นที่อยู่ในมุุมประสบการณ์ : จับคู่เสียง




อุปกรณ์          

            
       1) ขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยว        
            2) ข้าวสาร
           
3) ลูกปัด                     
            4) กระดุม
           
5) ถั่วเขียว                               
            6) สก๊อตเทป
           
7) กาว                                     
            8) กรรไกร























วิธีการทำ

1) นำขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยวใส่ข้าวสาร ลูกปัด กระดุม และถั่วเขียวให้ครบทุกขวด











2) ปิดฝาขวดยาคูลท์และนมเปรี้ยวให้เรียบร้อย











3) ทำกล่องไว้สำหรับใส่อุปกรณ์










4) นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม












ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับ

         เสียงเกิดการสั่นสะเทือนของวัตถุ ที่เสียงมีความแตกต่างกันก็เพราะ วัตถุข้างในมีขนาดที่ต่างกัน เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบของเสียง และสามารถจับคู่เสียงได้ เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาอีกด้วย



3.ของเล่นที่เป็นการทดลอง : จรวดลูกโป่ง



   
อุปกรณ์
            1.หลอด
            2.ลูกโป่ง
            3.เชือก
            4.คลิปหนีบ
            5.สก๊อตเทป

   วิธีการทำ
           
1.นำเชือกร้อยเข้าไปในหลอด

2.เป่าลูกโป่ง

3. เทปเป็นตัวนำลูกโป่งที่เป่าไว้ มาติดกับหลอดโดยใช้สก๊อตเชื่อม

4.จากนั้น ก็ให้คนจับปลายเชือกไว้1คน และอีกคนเป็นคนปล่อยลูกโป่ง

ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับ

            ลมที่ถูกเป่าเข้าไปในลูกโป่ง จะกลายเป็นพลังงานที่เก็บสะสมไว้  เป็นหลังงานศักย์ และเมื่อเราปล่อยปลายลูกโป่ง พลังงานที่เก็บสะสมไว้ นั้นก็จะกลายเป็นพลังงานจลน์ ที่ทำให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไป




Technical Education
  • การสรุปความรู้
  • การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • การให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Skill
  • การคิดวิเคราะห์
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การนำเสนอผลงาน
  • ความคิดรวบยอด

Adoption

      นำความรู้จากการทำสื่อ ทำของเล่นต่างๆ ไปจัดการเรียนการสอน ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้ค้นพบวิธีการเล่นของตนเอง และให้เด็กได้เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยการเล่น

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองานให้เพื่อนๆ และอาจารย์ฟัง
Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังเพื่อนๆกลุ่มอื่นรายงาน และซักถาม ร่วมกิจกรรม
Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้น               ให้นักศึกษาฝึกการคิดโดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น